นายมารุต จาติเกตุ เลขาธิการมูลนิธิการศึกษาไทย เปิดเผยว่า ทางมูลนิธิฯได้ดำเนินการศึกษาวิจัยตามโครงการการจัดการสารเคมีในระดับท้องถิ่น และการส่งเสริมการบริโภคอาหารกลางวันที่ปลอดภัยใน 55 โรงเรียน จาก 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ 20 แห่ง ปทุมธานี 11 แห่ง สกลนคร 12 แห่ง และพังงา 12 แห่งระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 - ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์กร The Field Alliance มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Greenpeace Thailand
ผลจากการตรวจหาสารตกค้างในอาหารกลางวันโรงเรียน ในผักที่โรงเรียนใช้มากที่สุด และบ่อยที่สุด 5 ชนิด 4 ภาค พบว่าเด็กทุกภาคกินผักเหมือนกันเกือบทุกชนิด เช่น แครอท กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง คะน้า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือเทศ และในการตรวจได้ส่งเข้าห้องแล็ป และตรวจเพียง 2 กลุ่ม คือ ออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphate) กับ พัยรีธรัม (pyrethrum) เพราะได้สำรวจชาวบ้านแล้วว่าใช้อะไรบ้าง ปรากฏว่ามีการใช้สารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตมากในผักกับผลไม้ โดยเฉพาะผักที่ส่งตรวจ 5 ชนิด พบเกือบ 100% และสารที่พบมากที่สุด คือคลอร์ไพริฟอส ส่วนสารฆ่าแมลงพัยรีธรัม ก็ใช้มากพอๆ กับคาร์บาเมต คือ 92% อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น